โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง

โรคที่เราเชี่ยวชาญ

โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง

กดทับเส้นประสาทอาการปวดหลัง สะโพกและปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรง อาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม อาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกกล้ามเนื้อในการกระดูกข้อเท้าและ ปลายนิ้วหัวแม่เท้า อาการชาบริเวณปลายเท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้า
สังเกตอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้ดังนี้

ปวดหลัง ปวดบริเวณเอว เป็นๆ หายๆ ปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า เดินได้ไม่ไกล มีอาการปวดชาลงไปถึงขาเหมือนเป็นตะคริวร่วมด้วย ต้องหยุดพัก แล้วจึงจะเดินต่อไปได้
อาการปวดหลังที่รู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าช็อตอาจเกิดจากหลายปัจจัย รวมถึงหมอนรองกระดูกเคลื่อน หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ หรือกระดูกสันหลังตีบ ซึ่งอาจมาพร้อมกับการรู้สึกเสียวซ่า ชา หรือความรู้สึกไม่สบายตัวในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
ปลายประสาทอักเสบ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขา (Sciatica) หรือปวดคอร้าวลงแขน (Brachialgia) ได้บ่อยที่สุด
• ในแต่ละปี จะพบผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ 1-3% ของจำนวนประชากร
• พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในอัตราส่วน 2:1
• กลุ่มช่วงอายุที่พบได้บ่อยสุด คือ 30-50 ปี (Gen X, Gen Y)
การป้องกันตัวเองจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
• การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลังและท้อง (Core muscle) ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
• ปรับท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นท่านั่งทำงาน ท่ายืน การก้มยกของ
• หยุดสูบบุหรี่
• ในกรณีที่มีอาการปวด ปวดคอ หรือปวดหลังเรื้อรัง
• อาการปวดเริ่มรุนแรง มักปวดคอ ปวดหลังบ่อยๆ และอาการปวดทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
• ปวดคอหรือปวดหลังร่วมกับอาการของระบบประสาทที่ผิดปกติไป เช่น ปวดร้าวลงแขนหรือลงขา อาการชาปลายมือปลายเท้า หรือมีอาการอ่อนแรงของมือหรือขา อาการเหล่านี้ ถือเป็นอาการแสดงของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยต่อไป

การทำกายภาพบำบัด
ในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท ทำอะไรได้บ้าง
– การใช้เครื่องช่วยดึงหลัง การดึงกระดูกสันหลัง จะช่วยให้หมอนรองกระดูกกลับเข้าที่ได้ เพราะเป็นการดึงให้กระดูกสันหลังแยกห่างออกจากกัน
ทำให้ลดแรงกดเบียดต่อตัวหมอนรองกระดูกได้
– การลดอาการปวด โดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด หรือฝังเข็ม ครอบแก้ว จัดกระดูก
6 ท่าบริหาร เหมาะกับหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลังส่วนล่าง ชาร้าวลงขา
6 ท่า บรรเทาอาการปวด”หลังส่วนล่าง ชาร้าวลงขา” หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ท่าที่ 1 นอนคว่ำ หันหน้าไปด้านหนึ่ง ทำเป็นระยะเวลาประมาณ 5 นาที และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 2 ตั้งศอก ดันตัวขึ้นลง 5 – 10 ครั้ง ควรทำอย่างช้าๆ และห้ามเกร็งหลัง และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 3 ใช้แขน เหยียดข้อศอก และดันตัวขึ้นลง 5 – 10 ครั้ง ควรทำอย่างช้าๆ ไม่ควรเกร็งหลัง และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 4 ยืน และนำมือทั้ง 2 ข้าง ค่อยๆ ดันบริเวณหลังส่วนล่าง 5 – 10 ครั้ง และควรทำอย่างช้าๆ และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 5 นอนหงายชันเข่า แขม่วท้องให้หลังชิดเตียง หายใจเข้า-ออก 5 – 10 ครั้ง ทำ 3 รอบ อย่างช้าๆ และควรทำอย่างช้าๆ และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที
แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 6 แขม่วท้องค้างไว้ ยกขา 1 ข้าง ขึ้นมาประมาณ 90 องศา ส่วนขาอีกข้างให้ชันเข่าไว้ ทำสลับกันไปอย่างช้าๆ โดยหายใจเข้า 5 -10 ครั้ง