การฝึกกลืนอาหารในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
ภาวะกลืนลำบากของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ฟื้นฟูได้ด้วยการฝึกกลืนอย่างถูกวิธี ผู้ป่วยที่มีภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาตมักจะมีความบกพร่องต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว ด้านอารมณ์ หรือพฤติกรรม ซึ่งอาจส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างเรื่องเล็กน้อยที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง เช่นเรื่องการรับประทานอาหาร ที่จะมีความยากลำบากมากขึ้นเพราะเกิดภาวะกลืนลำบาก ที่เป็นอาจเป็นผลกระทบที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยอัมพาตมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นจึงควรมีการฝึกการกลืนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้อย่างปลอดภัยในระยะยาว ภาวะกลืนลำบากคืออะไร? ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) คือภาวะที่ผู้ป่วยอัมพาตมีความผิดปกติในการเคี้ยวหรือการกลืนอาหาร สาเหตุเกิดจากพยาธิสภาพในสมองส่วนที่ควบคุมการเคี้ยวและการกลืนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนแรง ไม่สามารถเคี้ยวและกลืนอาหารได้อย่างปกติ สามารถส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การรับรับความรู้สึกบริเวณใบหน้าและช่องปากที่บกพร่อง ภาวะช่องปากแห้ง ไม่มีน้ำลาย หรือฝาปิดกล่องเสียงปิดไม่สนิท เป็นต้น ภาวะกลืนลำบากสามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก และเป็นตัวการที่ส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาหรือการขาดสารอาหารและขาดน้ำ ในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากยังพบการสำลักได้มากถึง 40-70% ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการปอดอักเสบ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้สามารถส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ โดยผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร เพิ่มภาระค่าดูแลใช้จ่ายที่มากขึ้น ส่งผลเสียต่อการบำบัดฟื้นตัว ทำให้ร่างกายอ่อนแอมากยิ่งขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะภาวะติดเชื้อในปอดและระบบทางเดินหายใจจากการสำลัก และรุนแรงไปถึงขั้นที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว แนวทางการฝึกการกลืนสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก การฝึกกลืนถือเป็นกระบวนการที่สำคัญในการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก โดยเฉพาะผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกซึ่งมักจะพบปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการควบคุมการกลืนได้ไม่เต็มที่ เป้าหมายของการฝึกกลืนคือช่วยให้ผู้ป่วยกลืนอาหารและน้ำได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการสำลัก ได้รับน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ กระตุ้นให้สามารถกลับมารับประทานอาหารได้ดังเดิม ในการฝึกผู้ป่วยอัมพาตที่มีภาวะกลืนลำบากสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละคน โดยอาจใช้วิธีการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณที่มีความผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีวิธีการปรับลักษณะหรือชนิดของอาหารให้เหมาะสมกับความสามารถในการกลืนของผู้ป่วย ไปจนถึงการจัดสภาพแวดล้อมขณะการฝึกรับประทานอาหาร โดยแนวทางของการฝึกกลืนอาหารมีดังนี้ […]
การฝึกกลืนอาหารในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก Read More »