อีกหนึ่งปัญหาที่มักเจอในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกคือภาวะบกพร่องด้านการสื่อสาร ซึ่งภาวะนี้ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันในเรื่องของการสื่อสารด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูด การอ่าน การเขียน การทำความเข้าใจสาร โดยผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกบางคนอาจสามารถพูดได้แค่ประโยคสั้น ๆ ไม่สามารถเรียบเรียงประโยคให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ใช้คำไม่เหมาะสม พูดไม่จบประโยค พูดไม่มีความหมาย ไปจนถึงไม่สามารถพูดได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นแตกต่างกันไปในพูดป่วยแต่ละคน และบางคนก็อาจมีหลายอาการเกิดร่วมกันได้
ปัญหาด้านการสื่อสารที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
โดยหลัก ๆ แล้วเราสามารถแบ่งความผิดปกติด้านการสื่อสารในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงอย่างเดียวหรือมีอาการหลายอย่างรวมกันก็ได้
- การควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ (Dysarthria) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกพูดไม่ชัดเพราะเกิดจากความบกพร่องของเส้นประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดและสื่อสาร โดยกล้ามเนื้ออาจเกิดการอ่อนแรง เกร็ง หรือทำงานได้ไม่ประสานสัมพันธ์กัน ส่งผลให้ผู้ป่วยพูดไม่ชัด ไม่มีแรงพูด พูดเสียงเบา พูดแล้วเสียงขึ้นจมูก เสียงแหบ เสียงอู้อี้ หรือพูดยานคางช้ามากกว่าปกติ
- การควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Apraxia) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกพูดสื่อสารไม่ได้ เนื่องมาจากความบกพร่องของกลไกประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด หรือความบกพร่องของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมโปรแกรมการพูด ส่งผลให้เมื่อฟังคำพูดของคนอื่นแล้วผู้ป่วยอาจไม่เข้าใจ หรือเมื่อผู้ป่วยต้องพูดเองจะไม่สามารถพูดได้เพราะนึกคำไม่ออก เป็นต้น
ขั้นตอนการฝึกพูดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร
- นักกายภาพบำบัดให้ข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกพูดเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
- ฝึกการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด โดยมีนักกายภาพบำบัดแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง
- ฝึกให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด
- ฝึกให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกพูดตามคำหรือพยัญชนะที่นักกายภาพบำบัดกำหนดให้
การฝึกพูดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหาด้านการสื่อสารควรฝึกจากระดับที่ง่ายก่อน แล้วจึงเพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะต้องมีนักกายภาพบำบัดประเมินผลร่วมด้วยทุกครั้งว่าผู้ป่วยสามารถฝึกพูดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมาก และการฝึกพูดแต่ละครั้งควรมีระยะเวลาประมาณ 20-30 นาที

การฝึกพูดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร
การฝึกพูดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีการควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ (Dysarthria)
1. ออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด ให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกฝึกทำกิจกรรมเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด อย่างเช่นกล้ามเนื้อปากและลิ้น
การฝึกบริหารริมฝีปาก
- อ้าปาก-ปิดปาก สลับกัน 20 ครั้ง
- ห่อปาก-ยิงฟัน สลับกัน 20 ครั้ง
- เป๊าะปาก 50 ครั้ง
- อมลมแก้มป่องซ้าย-ขวา สลับกัน 20 ครั้ง
การฝึกบริหารลิ้น
- แลบลิ้นค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
- แลบลิ้นเข้า-ออก เร็ว ๆ 20 ครั้ง
- เอาลิ้นแตะมุมปากซ้าย-ขวาสลับกัน 20 ครั้ง
- เอาลิ้นดันกระพุ้งแก้มซ้าย-ขวาสลับกัน 20 ครั้ง
- เอาลิ้นแตะหลังฟันบน-ฟันล่างสลับกัน 20 ครั้ง
- เดาะลิ้น 50 ครั้ง
2. ฝึกออกเสียง “อา-อู”, “อู-อี”, “อา-อิ”, “ลัน-ลา”, “เปอะ-เตอะ-เกอะ-เพอะ-เทอะ-เคอะ”, “ปา-พา-วา-ตา-ทา-ลา-กา-คา” อย่างรวดเร็ว ทำซ้ำ 20 ครั้ง จนผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อย หลังจากนั้นสามารถพักประมาณ 2-3 นาทีแล้วเริ่มฝึกกิจกรรมใหม่ต่อ
3. ฝึกพูดเรียงลำดับและออกเสียงประโยคให้ชัดเจน โดยให้ผู้ป่วยฝึกออกเสียงประโยค “ชามเขียวคว่ำเช้า ชามขาวคว่ำค่ำ”, “ยายกินลำไย น้ำลายยายไหลย้อย” เป็นต้น
4. ฝึกพูดประโยคสั้น ๆ พร้อมกับฝึกสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ และลากเสียงสระยาว ๆ พร้อมกันกับหายใจออก เช่น “เอ………”, “อี………”, “โอ………”, “อู………”
5. ฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว และคนอื่น ๆ ในสังคม ควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ
การฝึกพูดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีการควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Apraxia)
- ฝึกนึกคำพูด โดยอาจร้องเพลงที่ผู้ป่วยคุ้นเคย เช่น เพลงชาติ เพลงลอยกระทง รวมถึงฝึกนับเลข 1-10 ท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์, ท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี, ฝึกอ่านหนังสือออกเสียง, ฝึกเรียกชื่อสิ่งของในชีวิตประจำวัน, ฝึกตอบคำถาม โดยกระตุ้นให้นึกคำตอบให้ถูกต้อง อย่างเช่น การให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกบอกชื่อตัวเองหรือชื่อคนรอบตัว เป็นต้น
- ฝึกฟังเพื่อให้เข้าใจคำพูด สามารถพูดคุยกับผู้ป่วยและถามตอบเรื่องง่าย ๆ กระตุ้นให้ผู้ป่วยตอบให้ถูกต้อง โดยผู้ป่วยอาจใช้พูดหรือการพยักหน้าแทนได้ หรือฝึกให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกชี้สิ่งของตามคำบอก โดยอาจชี้ของจริง เช่น ชี้แก้ม (หมวดอวัยวะ) ชี้แก้วน้ำ (หมวดของใช้) หรือชี้จากรูปภาพก็ได้
การจะฝึกผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกให้พูดนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาและความสม่ำเสมอเป็นอย่างมาก โดยควรฝึกผู้ป่วยตามแนวทางข้างต้นทุกวัน เวลา 20-30 นาที ในห้องที่เงียบและไม่มีเสียงรบกวน โดยมีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือผู้ป่วยตลอดทั้งการฝึก ไม่ค่อยปล่อยให้ฝึกโดยลำพังเพราะอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเบื่อหน่ายแล้วไม่มีกำลังใจได้ นอกจากนี้ ยังควรฝึกพูดจากระดับง่ายไปถึงระดับยากโดยที่มีผู้ดูแลทำเป็นตัวอย่าง และที่สำคัญ ควรให้ผู้ป่วยหยุดพักเป็นระยะ ไม่จำเป็นจะต้องฝึกกิจกรรมให้หมดภายในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อผลลัพธ์การฝึกที่มีประสิทธิภาพและให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
สำหรับใครที่กำลังมองหาบริการช่วยผู้ป่วยอัมพาตที่กำลังมีภาวะกลืนลำบากอยู่ วีเอสคลินิก เรามีบริการตรวจรักษาและฟื้นฟูสุขภาพแบบครบวงจรด้วยกายภาพบำบัดและศาสตร์การแพทย์แผนจีน ดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี
VS Clinic วีเอส คลินิก แพทย์แผนจีนและกายภาพบำบัด
ติดต่อสอบถามและนัดหมาย
คลินิกกายภาพบำบัด (สาขารังสิต คลอง3)
เปิดบริการทุกวัน เวลา 9.00 – 20.00 น.
TEL: 082-798-9651
สาขาสำโรง
เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00 – 19.00 น.
โทร: 096-456-3599
สาขารังสิต คลอง 3 (คลินิกบ้านหมอวิมุต ชั้น 1)
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 – 20.00 น.
061-959-5592 (สาขารังสิต คลอง 3)
Line Official: @vsclinic