การฝึกกลืนอาหารในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

ภาวะกลืนลำบาก อัมพาตครึ่งซีก

ภาวะกลืนลำบากของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ฟื้นฟูได้ด้วยการฝึกกลืนอย่างถูกวิธี

ผู้ป่วยที่มีภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาตมักจะมีความบกพร่องต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว ด้านอารมณ์ หรือพฤติกรรม ซึ่งอาจส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างเรื่องเล็กน้อยที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง เช่นเรื่องการรับประทานอาหาร ที่จะมีความยากลำบากมากขึ้นเพราะเกิดภาวะกลืนลำบาก ที่เป็นอาจเป็นผลกระทบที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยอัมพาตมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นจึงควรมีการฝึกการกลืนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้อย่างปลอดภัยในระยะยาว

ภาวะกลืนลำบากคืออะไร?

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) คือภาวะที่ผู้ป่วยอัมพาตมีความผิดปกติในการเคี้ยวหรือการกลืนอาหาร สาเหตุเกิดจากพยาธิสภาพในสมองส่วนที่ควบคุมการเคี้ยวและการกลืนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนแรง ไม่สามารถเคี้ยวและกลืนอาหารได้อย่างปกติ สามารถส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การรับรับความรู้สึกบริเวณใบหน้าและช่องปากที่บกพร่อง ภาวะช่องปากแห้ง ไม่มีน้ำลาย หรือฝาปิดกล่องเสียงปิดไม่สนิท เป็นต้น

ภาวะกลืนลำบากสามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก และเป็นตัวการที่ส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาหรือการขาดสารอาหารและขาดน้ำ ในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากยังพบการสำลักได้มากถึง 40-70% ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการปอดอักเสบ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้สามารถส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ โดยผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร เพิ่มภาระค่าดูแลใช้จ่ายที่มากขึ้น ส่งผลเสียต่อการบำบัดฟื้นตัว ทำให้ร่างกายอ่อนแอมากยิ่งขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะภาวะติดเชื้อในปอดและระบบทางเดินหายใจจากการสำลัก และรุนแรงไปถึงขั้นที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว

กลืนลำบาก อัมพาตครึ่งซีก

แนวทางการฝึกการกลืนสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

การฝึกกลืนถือเป็นกระบวนการที่สำคัญในการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก โดยเฉพาะผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกซึ่งมักจะพบปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการควบคุมการกลืนได้ไม่เต็มที่ เป้าหมายของการฝึกกลืนคือช่วยให้ผู้ป่วยกลืนอาหารและน้ำได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการสำลัก ได้รับน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ กระตุ้นให้สามารถกลับมารับประทานอาหารได้ดังเดิม ในการฝึกผู้ป่วยอัมพาตที่มีภาวะกลืนลำบากสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละคน โดยอาจใช้วิธีการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณที่มีความผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีวิธีการปรับลักษณะหรือชนิดของอาหารให้เหมาะสมกับความสามารถในการกลืนของผู้ป่วย ไปจนถึงการจัดสภาพแวดล้อมขณะการฝึกรับประทานอาหาร โดยแนวทางของการฝึกกลืนอาหารมีดังนี้

1. ประเมินปัญหาการกลืนของผู้ป่วยอัมพาต

ก่อนเริ่มการฝึกกลืนจะต้องมีการประเมินปัญหาการกลืนของผู้ป่วยอัมพาต โดยจะต้องประเมินการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและลิ้น การตอบสนองในแต่ละขั้นตอนของการกลืน และความเสี่ยงในการสำลัก ซึ่งการประเมินที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถวางแผนการฝึกฝนที่เหมาะสมได้

2. ฝึกกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน

การฝึกกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความคล่องตัวในการกลืนได้ดียิ่งขึ้น โดยบริเวณกล้ามเนื้อที่แนะนำให้ฝึกการบริหารมีดังนี้

2.1 ท่าบริหารกล้ามเนื้อรอบริมฝีปาก ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกักเก็บน้ำและอาหารภายในช่องปาก ช่วยไม่ทำให้อาหารหกขณะกลืน

  • ท่าที่ 1 อ้าปากให้กว้างแล้วออกเสียง “อา” ประมาณ 5-10 วินาที 
  • ท่าที่ 2 เม้มปากให้แน่นแล้วคลายออก ทำซ้ำ 5-10 รอบ
  • ท่าที่ 3 ทำปากจู๋แล้วออกเสียง “อู” สลับกับฉีกยิ้มแล้วออกเสียง “อี” ทำซ้ำ 5-10 รอบ
  • ท่าที่ 4 กักลมในปากแล้วปล่อยลมออกช้า ๆ ทำซ้ำ 5-10 รอบ

2.2 ท่าบริหารกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกัด การเคี้ยว และการบดอาหาร

  • ท่าที่ 1 อ้าปากค้างไว้ 5 วินาทีแล้วหุบปากให้ฟันกระทบกัน ทำซ้ำ 5-10 รอบ
  • ท่าที่ 2 เคลื่อนขากรรไกรล่างไปด้านข้าง 5 วินาที ทำสลับกันซ้ายขวา 10 รอบ
  • ท่าที่ 3 เคลื่อนขากรรไกรเหมือนลักษณะการเคี้ยวอาหาร ทำซ้ำ 5-10 รอบ

2.3 ท่าบริหารกล้ามเนื้อบริเวณแก้ม ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูดน้ำหรืออาหาร

  • ท่าที่ 1 ดูด ใช้หลอดดูดน้ำหรือของเหลวที่มีความข้นหนืด เช่น เจลลี่ โยเกิร์ต และปล่อยออกมาโดยไม่ต้องกลืน
  • ท่าที่ 2 เป่า โดยอาจฝึกเป่ากระดาษ เป่าเทียน หรือเป่านกหวีด

2.4 ท่าบริหารกลุ่มกล้ามเนื้อลิ้น ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคลุกเคล้าอาหารภายในช่องปาก การดันอาหารที่คลุกเคล้าแล้วเข้าไปยังคอและหลอดอาหาร

  • ท่าที่ 1 เอาลิ้นแตะมุมปากสองข้างสลับกัน ทำซ้ำ 10 รอบ
  • ท่าที่ 2 เอาลิ้นแตะกระพุ้งแก้มสองข้างสลับกัน 5-10 รอบ หากผู้ป่วยอัมพาต เริ่มทำท่านี้ได้ดีแล้ว สามารถใช้นิ้วดันที่แก้มเพื่อเพิ่มแรงต้านได้ 
  • ท่าที่ 3 แลบลิ้นสลับกับหุบเข้าไปในปาก 5-10 รอบ หากผู้ป่วยสามารถทำได้ดีแล้ว สามารถฝึกให้เลียไอศกรีมโดยให้ห่างออกมาทางข้างหน้าเล็กน้อย
  •  ท่าที่ 4 เดาะลิ้น 5-10 รอบ
  • ท่าที่ 5 ออกเสียง “ลาลาลา” และ “คาคาคา” ซ้ำกันหลาย ๆ รอบ 
  • ท่าที่ 6 ออกเสียง “คาลา คาลา คาลา” ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • ท่าที่ 7 นำขนมหรือน้ำหวานแตะรอบบริเวณริมฝีปาก และใช้ลิ้นเลียรอบริมฝีปาก 5-10 รอบ 
  • ท่าที่ 8 ยกลิ้นแตะเหงือกแล้วเคลื่อนลิ้นจากด้านหน้าไปด้านหลังซ้ำ ๆ
  • ท่าที่ 9 อ้าปากแล้วใช้ปลายลิ้นยกไม้กดลิ้นหรือไม้พันสำลี โดยแตะค้างที่เหงือกหรือเพดานปากไว้ไม่ให้หล่นลงมา 5-10 วินาที
  • ท่าที่ 10 ใช้ลิ้นเคลื่อนไม้กดลิ้นไปที่มุมปากซ้ายและขวา 5-10 รอบ

แนะนำให้ฝึกท่าบริหารกล้ามเนื้อทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร เพื่อเตรียมความพร้อมของอวัยวะภายในช่องปาก โดยทำวันละ 3 ครั้งก่อนมื้ออาหาร เช้า กลางวัน และเย็น

3. ปรับอาหารและเครื่องดื่ม

ควรปรับอาหารและเครื่องดื่มให้เหมาะสมกับการกลืนของผู้ป่วยตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย เช่น อาหารที่ผ่านการบดละเอียด ซุปหรือเครื่องดื่มที่มีความหนืด เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการกลืน นอกจากนี้ยังควรระมัดระวังในเรื่องของอุณหภูมิของอาหารและขนาดของคำที่ผู้ป่วยสามารถกลืนได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการสำลักหรือการติดหลอดลม

4. ฝึกหายใจระหว่างการรับประทานอาหาร

นอกจากการฝึกกลืนแล้วผู้ป่วยยังต้องฝึกควบคุมการหายใจระหว่างการรับประทานอาหารเพื่อไม่ให้เกิดการสำลัก โดยควรฝึกให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ และสม่ำเสมอในระหว่างการกลืนอาหาร

5. ติดตามผลการฝึกกลืน

ในระหว่างการฝึกกลืนแต่ละครั้งควรมีการประเมินผลการฝึกและความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยเป็นระยะ เพื่อให้สามารถปรับปรุงแผนการฝึกให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกแต่ละรายมีความสามารถในการฟื้นฟูที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากวิธีการฝึกกลืนที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่ขาดไปไม่ได้เลยคือการให้กำลังใจและความมั่นใจให้กับผู้ป่วย เพราะการฝึกกลืนอาหารจำเป็นต้องใช้เวลา ผู้ป่วยอัมพาตบางคนอาจรู้สึกเครียดเกี่ยวกับการรับประทานอาหารได้ จึงควรได้รับความสนับสนุนทางด้านจิตใจด้วย

ผู้ป่วยอัมพาตอัมพาตที่กำลังมีภาวะกลืนลำบาก แน่นอนว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารป่วยทรุดลงหรือทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้นจึงควรเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยอัมพาตและผู้ดูแลในระยะยาว

สำหรับใครที่กำลังมองหาบริการช่วยผู้ป่วยอัมพาตที่กำลังมีภาวะกลืนลำบากอยู่ วีเอสคลินิก เรามีบริการตรวจรักษาและฟื้นฟูสุขภาพแบบครบวงจรด้วยกายภาพบำบัดและศาสตร์การแพทย์แผนจีน ดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี

VS Clinic วีเอส คลินิก แพทย์แผนจีนและกายภาพบำบัด

ติดต่อสอบถามและนัดหมาย

คลินิกกายภาพบำบัด (สาขารังสิต คลอง3)

เปิดบริการทุกวัน เวลา 9.00 – 20.00  น.

TEL: 082-798-9651 

สาขาสำโรง

เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00 – 19.00 น.

โทร: 096-456-3599 

สาขารังสิต คลอง 3 (คลินิกบ้านหมอวิมุต ชั้น 1)

เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 – 20.00 น.

061-959-5592 (สาขารังสิต คลอง 3)

Line Official: @vsclinic