6 ท่าบริหารแก้โรคไหล่ติด

โรคไหล่ติด คืออะไร?

โรคไหล่ติด (Frozen Shoulder) หรือภาวะไหล่ติดแข็ง (Adhesive Capsulitis) เป็นภาวะที่ข้อไหล่มีการอักเสบและเกิดพังผืดในเยื่อหุ้มข้อ ส่งผลให้ไหล่ขยับได้จำกัดและมีอาการปวด เจ็บแปล๊บ ขยับไม่ได้ ยกแขนไม่ได้ ไขว้หลังไม่ได้ ติดตะขอชั้นในไม่ได้ เกาหลังไม่ได้ หวีผมไม่ได้ เตะหัวไหล้อีกข้างไม่ได้ นอนตะแคงข้างปวดไม่ได้ พลกตะแคงตัวปวดไหล่เพิ่ม เอื้อมหยิบของไม่ได้ โดยมักพบบ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ30-80ปึ สาเหตุของโรคไหล่ติดยังไม่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่น การไม่ได้ใช้ข้อไหล่เป็นเวลานานหลังการบาดเจ็บ

6 ท่าบริหารหัวไหล่ สลายอาการปวดและไหล่ติด

1. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขน (Tricep Stretch)
2. ท่าหมุนไหล่ (Shoulder Circles)
3. ท่ายกแขนด้านข้าง (Slide Lift)
4. ท่ายืดแขนขึ้น (Reaching Up)
5. ท่าบริหารไหล่ด้านหลัง (Shoulder Back)
6. ท่ายืดหัวไหล่ (Shoulder Stretch)

การรักษาอาการหัวไหล่ติด

การรักษาอาการหัวไหล่ติดสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งแนวทางการรักษาได้แก่

  • การรับประทานยา: ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบสามารถช่วยลดอาการปวดและการอักเสบได้
  • การฉีดยาลดการอักเสบ: การฉีดยากลุ่มต้านการอักเสบหรือสเตียรอยด์เข้าไปในข้อไหล่ เพื่อลดอาการอักเสบของเยื่อบุข้อไหล่ เมื่อการอักเสบลดลง จะช่วยให้การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูหัวไหล่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การทำกายภาพบำบัด: การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของหัวไหล่
  • การผ่าตัด: ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อแก้ไข ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีการผ่าตัดแก้หัวไหล่ติดแบบส่องกล้อง (Arthroscopic Shoulder Surgery) เป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะทำการแก้ไขปัญหาข้อไหล่ติดโดยการส่องกล้องแล้วใช้เครื่องมือขนาดเล็กไปผ่าตัดแก้ไข ทำให้ผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านได้เร็วขึ้น

6 ท่าบริหารแก้อาการหัวไหล่ติด

หากเริ่มรักษาอาการหัวไหล่ติดแต่เนิ่น ๆ อาการจะไม่รุนแรง แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่ทำกายภาพบำบัดหรือปรึกษาแพทย์ อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนขยับไหล่ได้น้อยลงและมีอาการปวดร่วมด้วย การบริหารเพื่อแก้อาการหัวไหล่ติด เป็นการยืดเยื่อหุ้มข้อไหล่และเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ซึ่งสามารถทำได้ที่บ้านโดยค่อย ๆ ยืดทีละน้อย และอาจต้องยอมให้มีอาการเจ็บบ้างเล็กน้อย โดยควรทำทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้น 6 ท่าบริหารนี้จะช่วยลดอาการหัวไหล่ติดที่สามารถทำได้เองที่บ้าน

  1. ท่ายืดแขนเข้าผนัง: ยืนหันหน้าเข้าผนัง ยกแขนที่มีอาการเจ็บไปข้างหน้า เหยียดข้อศอกให้ตรง (โดยอาจใช้มือข้างที่ไม่ปวดช่วยจับ) แล้วเดินเข้าหาผนังจนปลายนิ้วแตะฝาผนัง พยายามเลื่อนปลายนิ้วให้สูงขึ้นจนรู้สึกตึงและเจ็บเล็กน้อย จากนั้นก้าวถอยหลังออกมา แล้วเดินหน้าเข้าไปใหม่ ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  2. ท่ายกแขนเหนือศีรษะ: นั่งลงบนเก้าอี้ ประสานมือทั้งสองข้างแล้วยกขึ้นเหนือศีรษะ เหยียดข้อศอกให้ตรง จากนั้นเอาแขนทั้งสองข้างแนบหู แล้วงอข้อศอกให้มือที่ประสานกันวางที่ท้ายทอย แบะศอกออกให้เต็มที่ นับ 1 ถึง 5 แล้วเหยียดข้อศอกตรงมือประสานเหนือศีรษะ ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
  3. ท่าบิดแขน: ยืนหรือนั่ง เหยียดแขนข้างที่เจ็บตรงอยู่ระดับไหล่ งอข้อศอกให้มาแตะไหล่ข้างที่ดีและใช้มือข้างที่ดีดึงข้อศอกข้างที่เจ็บไปข้างหลัง จนมือข้างที่เจ็บแตะด้านหลังของหัวไหล่ข้างที่ดี ท่านี้จะคล้ายกับการล็อกคอตัวเอง ให้ทำเท่าที่ทำได้
  4. ท่ายืดอกเข้ามุมห้อง: ยืนหันหน้าเข้ามุมห้อง กางแขนระดับไหล่ ศอกงอ 90 องศา วางฝ่ามือบนผนังทั้งสองข้าง ก้าวขาข้างที่ไหล่เจ็บไปข้างหน้า แล้วแอ่นอกเข้าหามุมห้อง จนหัวไหล่ข้างที่เจ็บยืดจนตึงอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อย นับ 1 ถึง 5 แล้วถอยกลับ ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  5. ท่ายกไหล่: นั่งหรือยืน ห้อยแขนข้างลำตัว เหยียดข้อศอกตรง ยักไหล่ขึ้นทั้งสองข้าง แล้วแบะไหล่ไปข้างหลังและปล่อยลง ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
  6. ท่าดึงผ้า : จับปลายผ้าทั้ง2 ข้าง โดยแขนที่ปวดอยู่ล่าง แขนปกติอยู่ด้านบน ค่อยๆใช้แขนปกติดึงขึ้นช้าๆ ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที จากนั้นปล่อยกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ ประมาณ 10 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น
    หมั่นทำซ้ำบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการหัวไหล่ติด เพื่อบรรเทาให้อาการไหล่ติดให้ดีขึ้น

ป้องกันหัวไหล่ติด

การป้องกันหัวไหล่ติดสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและรักษาสุขภาพของข้อต่อให้แข็งแรง ท่าบริหารและวิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันหัวไหล่ติดมีดังนี้

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจเลือกการออกกำลังกายที่ใช้หัวไหล่ เช่น การว่ายน้ำ การเล่นโยคะ หรือการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อรักษาความยืดหยุ่นของหัวไหล่
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าที่ทำให้หัวไหล่เครียดหรือตึง เช่น การนั่งทำงานนาน ๆ ควรเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ และทำท่ายืดกล้ามเนื้อระหว่างวัน
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย
  4. ปรึกษาแพทย์หากมีอาการเจ็บปวดที่หัวไหล่หรือรู้สึกว่าหัวไหล่เริ่มแข็งเพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม
  5. รักษาโดยกายภาพบำบัด Kinesio tape สามารถประยุกต์ใช้ในการรักษาได้ในหลากหลายอาการ โดยหลักสำคัญของการรักษาด้วย Kinesio tape คือทำให้ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บหรือพยาธิสภาพกลับคืนสู่สมดุล ซึ่งหมายถึงทำให้อาการบาดเจ็บดีขึ้น และเนื้อเยื่ออยู่ในสภาวะที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้กลับคือสู่สภาพปกติให้ได้มากที่สุด โดยจะขอยกตัวอย่างอาการบาดเจ็บที่สามารถใช้ Kinesio tape ให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. รักษาโดยกายภาพบำบัด นำเทคโนโลยีหลายชนิดมาใช้เพื่อการทำกายภาพบำบัด เสมือนเป็นอิเล็กทรอนิกส์บำบัด (Electrotherapy) โดยมีเครื่องอัลตราซาวด์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางเลือกของการรักษาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย
    การปฏิบัติตัวเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันการเกิดหัวไหล่ติดและรักษาสุขภาพของหัวไหล่ให้แข็งแรงและเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ

สรุป

หัวไหล่ติดเป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากทำให้การเคลื่อนไหวของหัวไหล่ถูกจำกัดและมีอาการปวดร่วมด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หากมีอาการหัวไหล่ติดดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
นอกจากนี้ การบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดหัวไหล่ติดยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงและฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ให้กลับมาเป็นปกติได้

VS Clinic วีเอส คลินิก แพทย์แผนจีนและกายภาพบำบัด

ติดต่อสอบถามและนัดหมาย

คลินิกกายภาพบำบัด (สาขารังสิต คลอง3)

เปิดบริการทุกวัน เวลา 9.00 – 20.00  น.

TEL: 082-798-9651 

สาขาสำโรง

เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00 – 19.00 น.

โทร: 096-456-3599 

สาขารังสิต คลอง 3 (คลินิกบ้านหมอวิมุต ชั้น 1)

เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 – 20.00 น.

061-959-5592 (สาขารังสิต คลอง 3)

Line Official: @vsclinic